วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563

สรุปเนื้อหาบทที่2 น้ำ

  - พันธะโคเวเลนต์เป็นการยึดเหนี่ยวกันระหว่างคู่อะตอมโดยใช้เวเลนซ์อิเล้กตรอนร่วมกัน ส่วนใหญ่เกิดขี้นระหว่างคู่อะตอมของธาตุอโลหะ

- พันธะโคเวเลนต์มี 3 ชนิด คือ พันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม

- จุดหลอมเหลวเเละจุดเดือดของสารโคเวเลนต์มีความสัมพันธ์กับเเรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลซึ่งเป็นผลมาจากสภาพขั้วของสาร สารที่มีมวลและรูปร่างโมเลกุลใกล้เคียงกันสารมีขั้วจะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงกว่าสารไม่มีขั่ว

- พันธะไฮโดรเจนเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่เกิดกับสารมีขั้วที่มีพันธะ O-H ,N-H ,หรือF-H ในโมเลกุล ทำให้สารมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงกว่ามีขั้วที่มีโมเลกุล

- สารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกที่ยึดเหนี่ยวกับไอออนลบด้วยพันธะไอออนิก โดยไอออนบวกและไอออนลบจัดเรียงตัวสลับกันต่อเนื่องไปใน 3 มิติ ในอัตราส่วนที่ทำให้สารประกอบไอออนิกเป็นกลางทางไฟฟ้า

- สูตรของสารประกอบไอออนิกเขียนเเสดงด้วยสูตรเอมพิริคัล ซึ่งแสดงอัตราส่วนอย่างต่ำของไอออนที่เป็นองค์ประกอบ

- จุดหลอมเลวของสารประกอบไอออนิกสูงกว่าสารโคเวเลนต์มาก เนื่องจากต้องใช้พลังงานในการทำลายพันธะไอออนิกซึ่งมีความเเข็งแรงมากกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของสารโคเวเลนต์

- การละลายน้ำมี2แบบ คือ การละลายแบบเเตกตัว และการละลายแบบไม่แตกตัว

- การละลายแบบแตกตัวเกิดขึ้นกับสารประกอบไอออนิกที่สามารถละลายน้ำได้ หรือ สารโคเวเลนต์ที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวทำให้สารละลายมีสมบัติเป็นกรดเหรือเบส และสารละลายที่ได้เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์

- การละลายแบบไม่แตกตัวเกิดขึ้นกับสารโคเวเลนต์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก หรือสารโคเวเลนต์บางชนิดที่สามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนกับน้ำได้ และสารละลายที่ได้เป็นยสารละลายนอนอิเล็กโทรไลต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุปเนื้อหาบทที่3 อาหาร

  - สารประกอบอินทรีย์มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่สร้างพันธะโคเวนเลนต์กับธาตุไฮโดรเจน หรือกับธาตุคาร์บอนด้วยกันเอง และยังอาจมีธาต...